วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

คณิตศาสตร์กับอาเซียน

เรื่อง การใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในงานอาชีพ
สาระสำคัญ
การประกอบอาชีพในสังคมและในกลุ่มประชาคมอาเซียนนั้น มีหลากหลายสาขาอาชีพทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการ อาชีพในวงการดังกล่าวล้วนมีการใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้องเกือบทุกกลุ่มอาชีพ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้เรียนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมาประยุกต์ใช้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. สามารถวิเคราะห์งานอาชีพในสังคมและกลุ่มประชาคมอาเซียนที่ใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์
2. มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์กับงานอาชีพได้
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ลักษณะ ประเภทของงานอาชีพที่ใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์


          เรื่องที่ 2 การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับงานอาชีพในสังคมและ ประชาคมอาเซียน

 เรื่องที่ ลักษณะ ประเภทของงานอาชีพที่ใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์
1.1 กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ อาชีพ การทำนา ทำไร่ การปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ ประมง ฯลฯ 
(1) ลักษณะงานเบื้องต้นที่ใช้ทักษะคณิตศาสตร์
1. การคำนวณเงินรายได้ประจำวัน
2. การคำนวณเงินค่าทำงานล่วงเวลา
3. การคำนวณเงินกู้และดอกเบี้ยคงที่หรือดอกเบี้ยทบต้น
4. การทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายประจำวัน
          5. การจัดทำบัญชีพัสดุ (การจัดซื้อ การเบิกจ่ายพัสดุ

6. การสำรวจและวิจัยการตลาด
7. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(2) เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้
1. เครื่องคิดเลข
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. เครื่องจักรอุตสาหกรรมในแต่ละสาขาอุตสาหกรรม
4. เครื่องบรรจุภัณฑ์ลงกล่องหรือแพ็คเป็นพลาสติกห่อหุ้ม
(3) ความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ใช้
1. การคำนวณเงินรายได้ประจำสัปดาห์ ประจำเดือนโดยหักวันลาหยุด
2. การคำนวณเงินค่าทำงานล่วงเวลาเป็นจำนวนชั่วโมงต่อค่าจ้างรายชั่วโมง
3. การคำนวณเงินกู้และดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยคงที่ดอกเบี้ยทบต้น)
4. การทำบัญชีรับ – จ่ายประจำวั
5. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.3 กลุ่มอาชีพพาณิชยกรรม ได้แก่ อาชีพค้าขาย ผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการขายปลีกและขายส่ง ธุรกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ อาชีพการทำบัญชี การตลาด เป็นต้น


(1) ลักษณะงานเบื้องต้นที่ใช้ทักษะคณิตศาสตร์
1. การจัดเตรียมสถานที่ การคำนวณการจัดวางโต๊ะ เก้าอี้ หรือวัสดุอุปกรณ์ใน การขาย
2. การจัดซื้อวัตถุดิบในการค้าขายปลีกหรือขายส่ง
3. การจำหน่ายสินค้า การคำนวณราคาสินค้าต่อหน่วย การทอนเงิน
4. การจัดทำบัญชีพัสดุ (การจัดซื้อ การเบิกจ่ายพัสดุ)
5. การจัดทำบัญชีรับ – จ่ายประจำวัน
6. การฝากเงิน การถอนเงิน การออมเงิน
7. การประชาสัมพันธ์ในงานธุรกิจค้าขายหรือพาณิชยกรรม ซึ่งต้องใช้ทักษะใน การคำนวณขนาดของป้ายโฆษณา ขนาดตัวอักษร ขนาดและจำนวนแผ่นพับ หรือใบปลิวโฆษณา
8. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(2) เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้
1. เครื่องคิดเลข
2. เครื่องเก็บเงิน – ทอนเงิน
3. เครื่องคอมพิวเตอร์
4. เครื่องไมโครเวฟ
5. เครื่องปั่นน้ำผลไม้
(3) ความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ใช้
1. การคำนวณขนาดของพื้นที่ใช้สอยเพื่อจัดวาง โต๊ะ เก้าอี้หรือวัสดุ อุปกรณ์ในการขาย
2. การคำนวณปริมาณการจัดซื้อวัตถุดิบในแต่ละวัน
3. การคำนวณในการจัดซื้อพัสดุ
4. การจัดทำบัญชีรับ – จ่ายประจำวัน
5. การคำนวณขนาดของป้ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์หรือแผ่นพับ แผ่นปลิวโฆษณา
6. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.4 กลุ่มอาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจการออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัย สำนักงานและสวนหย่อม การจัดดอกไม้และแจกันประดับ ธุรกิจการทำพวงหรีด การจัดกระเช้าของขวัญ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น